ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้ คือ อินเดีย
มีผู้นับถือที่เรียกว่าศาสนิกชนฮินดู ส่วนมากที่ประเทศอินเดีย
นอกนั้นจะมีบ้างเป็นส่วนน้อยตามประเทศต่างๆ เช่น ลังกา บาหลี อินโดนีเสีย ไทย
แอฟริกาใต้ สถิติผู้นับถือประมาณกว่า 475
ล้านคนศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง
มีอายุกว่า 4,000 ปี
เนื่องจากศาสนานี้มีวิวัฒนาการอันยาวนานผ่านขั้นตอนทางประวัติศาสตร์หลายขั้นตอนตั้งแต๋โบราณกาลถึงปัจจุบัน
จึงเป็นการยากในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ให้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นๆ
ไม่มีใครกำหนดได้ว่าศาสดาคือใคร จนต้องถือว่าไม่มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา
คิดว่าเกิดจาการได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา
หรือเกิดจากประสบการณ์ทางศาสนาของชาวฮินดูร่วมกัน เกิดเป็นคำสอน
เป็นคำภีร์ขึ้นจนผู้นับถือศาสนา มีความเชื่อและแนวทางปฏิบัติต่างกันมากมาย
ทั้งในสมัยเดียวกันและสมัยต่างกัน แม้แต่ชื่อของศาสนาเอง
ก็ยังเรียกต่างกันไปตามกาลเวลา เช่น
สนตนธรรมแปลว่า “ศาสนาสนต” หมายความว่า เป็นศาสนาที่ดำรงอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีวันเสื่อมสูญ
ไวทิกธรรมแปลว่า “ธรรมที่ได้มาจากพระเวท”
อารยธรรมแปลว่า “ธรรมอันดีงาม”
พราหมณธรรมแปลว่า “คำสอนของพราหมณาจารย์”
ฮินทูธรรม หรือฮินดูธรรมแปลว่า “ธรรมที่สอนลัทธิอหิงสาหรือศาสนาฮินดู”
สนตนธรรมแปลว่า “ศาสนาสนต” หมายความว่า เป็นศาสนาที่ดำรงอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีวันเสื่อมสูญ
ไวทิกธรรมแปลว่า “ธรรมที่ได้มาจากพระเวท”
อารยธรรมแปลว่า “ธรรมอันดีงาม”
พราหมณธรรมแปลว่า “คำสอนของพราหมณาจารย์”
ฮินทูธรรม หรือฮินดูธรรมแปลว่า “ธรรมที่สอนลัทธิอหิงสาหรือศาสนาฮินดู”
ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ “พราหมณ์-ฮินดู” เพราะผู้ให้กำเนิดศานานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศานาเสื่อลงระยะหนึ่งและได้มาฟื้นฟูปรับปรุงเป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดยเพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้าไป มีการปรับปรุงเนื้อหาหลักธรรม คำสอนให้ดีขึ้น คำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมือง ในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมอะไรใหม่ๆ ลงไป แลัวเรียกศาสนาของพวกนี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศานาพราหมณ์จึงมีอีกชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้
ศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู เป็นศาสนาเก่าแก่ที่ยากแก่การศึกษาเรื่องราวให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นเพราะ
1.เนื้อหาอันเป็นแก่นแท้ของลัทธิเกิดจากแนวคิดและมโนคติที่ลึกซึ้งและสูงยิ่ง
2.มีวิวัฒนาการที่เกิดจากการผสมผสาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหลายซับหลายซ้อน จนยากแก่การจำแนกแจกแจงขั้นตอนให้เห็นเด่นชัด
3.เอกสาร (คัมภีร์ต่าง ๆ) อันเป็นหลักฐานสำคัญของศาสนานี้ แม้จะมีมากและมีมานานนับเวลาพันปีแต่ก็มิได้รับการเผยแพร่เพราะถูกสงวนไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของพราหมณ์แต่ละตระกูล คงมีการถ่ายทอดให้แก่ทายาทผู้สืบเชื้อสายเท่านั้น เอกสารเหล่านั้น เพิ่งจะมีผู้นำมารวบรวมเป็นคัมภีร์เมื่อประมาณ พ.ศ. 1750 แต่ก็เป็นหลักฐานที่มิได้มีการตรวจสอบรับรองความถูกต้องมาก่อน เพราะศาสนานี้ไม่มีศาสดาที่เป็นมนุษย์คำสอนทั้งปวงพราหมณือ้างว่าได้ยินได้ฟังมาจากเสียงสวรรค์ จากโอษฐ์ของพระเจ้าโดยตรง
ย่างไรก็ตาม คำสอนอันเป็นแก่นแท้ของศาสนาพราหมณ์
ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ก็เป็นพื้นฐานให้เกิดศาสนาอื่นที่สำคัญ ๆ หลายศาสนา
เป็นหลักฐานที่สนใจศึกษากันในหมู่นักปรัชญาทั่วไปในสมัยปัจจุบันยิ่งกว่านั้นคำอธิบายเรื่องกำเนิดจักรวาลของศาสนานี้ยังมีความสอดคล้องและท้าทายข้อพิสูจน์ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับกำเนิดของสุริยจักรวาล
ที่นักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันกำลังศึกษาค้นคว้ากันอยู่อีกด้วย
สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อักษรเทวนาครี อ่านว่า “โอม” ซึ่งย่อมาจากอักษร อ อุ และ ม
หมายถึงเทพยิ่งใหญ่ทั้งสาม อักษร “อ” แทนพระวิษณุ
อักษร “อุ” แทนพระศิวะ และอักษร “ม” แทนพระพรหม สัญลักษณ์ดังกล่าวนี้บางครั้งเรียกว่า
“สวัสติหรือสวัสติกะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น