พระราชพิธีพืชมงคล
- จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีสองพิธีต่อเนื่องกันคือ
พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์ ประกอบพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ประกอบพิธีที่มณฑลท้องสนามหลวง แต่เดิมมีเแต่พิธีพราหมณ์มาเริ่มมีพิธีสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิธีแรกนาขวัญมีปรากฎในคัมภีร์เรื่อง รามายณะ ตอนที่ท้าวชนกไถนา พบนางสีดา ณ เมืองมิถิลา
พิธีแรกนาขวัญมีปรากฎในคัมภีร์เรื่อง รามายณะ ตอนที่ท้าวชนกไถนา พบนางสีดา ณ เมืองมิถิลา
พระราชพิธีตรียัมปวาย
- ตรีปาวาย เป็นสองพิธีต่อกันคือ พิธีตรียัมปวาย กับพิธีตรีปวาย กระทำในเดือนยี่
ของทุกปี เป็นเวลา ๑๕ วัน ตลอดเวลาดังกล่าวมีการอ่านโศลกสรรเสริญ และถวายโภชนาหารแด่เทพเจ้า พิธีนี้เกี่ยวเนื่องกับพิธีแรกนาขวัญ
ซึ่งเป็นพิธีขอพรให้พืชพันธุ์อุดสมบูรณ์ เป็นต้นฤดูการเพาะปลูก
ส่วนพิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีที่ทำหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว พราหมณ์จึงจัดของถวาายเป็นการระลึกถึงเทพเจ้า ที่กรุณาให้พืชพันธุ์แก่มนุษย์ พิธีนี้จะมีพิธีโล้ชิงช้ารวมอยู่ด้วย หมายถึงการหยั่งความมั่นคงของแผ่นดิน และเป็นการเสริมสร้างให้แผ่นดินมีความมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นคติแต่โบราณ
ลำดับการดำเนินการของพระราชพิธีดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
- พิธีเปิดประตูศิวาลัย เชิญเทพเจ้าเพื่อประทานพร จากนั้นเป็นพิธีโล้ชิงช้าของนาลิวัน
- การถวายสักการะด้วยโภชนาหาร มีข้าวตอกดอกไม้ เป็นต้น โดยการอ่านโศลกสรรเสริญเทพเจ้า
- การสรงน้ำเทพเจ้า แล้วเชิญขึ้นบรมหงส์ เป็นการส่งเทพเจ้ากลับเรียกว่า กล่อมหงส์ หรือช้าหงส์
ในวันสุดท้ายของพิธีพราหมณ์ จะทำบุญตามศาสนา มีการตัดจุกให้แก่เด็กทั่ว ๆ ไป และถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี
ส่วนพิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีที่ทำหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว พราหมณ์จึงจัดของถวาายเป็นการระลึกถึงเทพเจ้า ที่กรุณาให้พืชพันธุ์แก่มนุษย์ พิธีนี้จะมีพิธีโล้ชิงช้ารวมอยู่ด้วย หมายถึงการหยั่งความมั่นคงของแผ่นดิน และเป็นการเสริมสร้างให้แผ่นดินมีความมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นคติแต่โบราณ
ลำดับการดำเนินการของพระราชพิธีดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
- พิธีเปิดประตูศิวาลัย เชิญเทพเจ้าเพื่อประทานพร จากนั้นเป็นพิธีโล้ชิงช้าของนาลิวัน
- การถวายสักการะด้วยโภชนาหาร มีข้าวตอกดอกไม้ เป็นต้น โดยการอ่านโศลกสรรเสริญเทพเจ้า
- การสรงน้ำเทพเจ้า แล้วเชิญขึ้นบรมหงส์ เป็นการส่งเทพเจ้ากลับเรียกว่า กล่อมหงส์ หรือช้าหงส์
ในวันสุดท้ายของพิธีพราหมณ์ จะทำบุญตามศาสนา มีการตัดจุกให้แก่เด็กทั่ว ๆ ไป และถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีสถาปนาพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเป็นสมมติเทพ ปกครองแผ่นดิน เป็นใหญ่ในทิศทั้งแปด และเป็นการประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน ตามคติพราหมณ์จะทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้า เพื่อทำการสถาปนาให้พระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นสมมติเทพ ดำรงธรรมสิบประการ ปกครองประเทศด้วยความร่มเย็น
มีลำดับพิธีโดยย่อคือ
- ทำน้ำอภิเษก เปิดประตูศิวาลัย อัญเชิญพระอิศวร เพื่อประทานพร
- สรงมูรธาภิเษก คือการสรงน้ำเพื่อความมงคล
- ถวายสังวาลย์พราหมณ์ แสดงว่าพระองค์เป็นพราหมณ์
- ถวายพระมหาพิชิยมงกุฎ ประกาศปกครองประเทศโดยธรรม
- เลียบพระนคร เพื่อแสดงพระองค์แก่ทวยราษฎร์ และประทักษิณพระนคร ให้ประชาราษฎร์มีสันติสุข
- ทำน้ำอภิเษก เปิดประตูศิวาลัย อัญเชิญพระอิศวร เพื่อประทานพร
- สรงมูรธาภิเษก คือการสรงน้ำเพื่อความมงคล
- ถวายสังวาลย์พราหมณ์ แสดงว่าพระองค์เป็นพราหมณ์
- ถวายพระมหาพิชิยมงกุฎ ประกาศปกครองประเทศโดยธรรม
- เลียบพระนคร เพื่อแสดงพระองค์แก่ทวยราษฎร์ และประทักษิณพระนคร ให้ประชาราษฎร์มีสันติสุข
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีสาบานตน ในการรับราชการว่าจะซื่อตรงต่อแผ่นดิน และปกป้องชาติบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุข โดยบรรดาข้าราชการจะต้องดื่มน้ำสาบานตน จำเพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง โดยพราหมณ์จะทำพิธีเสกน้ำสาบานนี้
แล้วนำพระแสง (ศาสตราวุธ) ต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ลงชุบในน้ำที่เสกนั้น
เพื่อหมายให้ผู้ที่ไม่ซื่อตรงต่อแผ่นดิน จะต้องได้รับโทษต่าง
ๆ นานา
ปัจจุบัน จะประกอบพระราชพิธีนี้ รวมกับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี เฉพาะบุคคลที่ได้รับพระราชทานเท่านั้น
ปัจจุบัน จะประกอบพระราชพิธีนี้ รวมกับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี เฉพาะบุคคลที่ได้รับพระราชทานเท่านั้น
พิธีทำในเทวลัยต่าง
ๆ มีอยู่หลายพิธีด้วยกัน ดังนี้
พิธีเนาวราตรี บูชาพระแม่อุมาเทวี หรือพระแม่ทุรคาเทวี จัดที่วัดเทพมณเฑียร และวัดวิษณุ ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้า ของทุกปี และจัดที่วัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร และวัดศรีมหาอุมาเทวี ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด รวม ๙ วัน ๙ คืน
พิธีฉลองวันอวตารพระราม ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้าของทุกปี จัดที่วัดเทพมณเฑียรและวัดวิษณุ
พิธีสงกรานต์ ในวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี จัดที่วัดเทพมณเฑียร
พิธีวันวิสาขบูชา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก จัดที่วัดเทพมณเฑียร
พิธีบูชาพญานาคและหนุมาน ในวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือนเก้า จัดที่วัดวิษณุ
พิธีฉลองวันอวตารพระกฤษณา ในวันแรม ๘ ค่ำ เดือนแปด จัดที่วัดวิษณุ และวัดเทพมณเฑียร
พิธีฉลองวันวิชยาทศนี หรือทศหราหรือคูเชร่า ในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด จัดที่วัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร และวัดศรีมหาอุมาเทวี
พิธีดูเซร่าหรือเนาวราตรี เป็นพิธีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณในสมัยพระเวท และได้ตกทอดมาสู่เมืองไทย โดยชาวอินเดียยุคโบราณ มีการประกอบพิธีบูชาองค์เจ้าแม่และองค์เทพต่าง ๆ รวม ๑๐ วัน ๑๐ คืน ในคืนสุดท้ายจะมีการเชิญองค์เจ้าแม่นำหน้าขบวนแห่ออกไปนอกเทวาลัย
ในงานพิธีประชาชนจะพากันถือศีลกินมังสะวิรัต บ้างก็บำเพ็ญกุศลบนบานศาลกล่าวขอโชคลาภ ในวันวิชัยทัสมิ เจ้าแม่อุมาเทวีจะมาปรากฎในร่างของคนทรงเพื่อแสดงนาฎลีลา นำหน้าขบวนแห่ไปเยี่ยมเยียนบรรดาสานุศิษย์ผู้ศรัทธาตามเคหะสถานบ้านเรือนต่าง ๆ
การประกอบพิธีมีการปลุกเสกร่ายพระเวทรวม ๙ วัน ๙ คืน ถือกันว่าผู้ที่มาร่วมพิธีจะได้รับพระชัยมงคลเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
พิธีประจำสัปดาห์ จัดให้มีทุกวันอาทิตย์ที่วัดเทพมณเฑียร เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๐.๐๐ น. ที่วัดอารยสมาช เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ และที่วัดวิษณุ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
พิธีเนาวราตรี บูชาพระแม่อุมาเทวี หรือพระแม่ทุรคาเทวี จัดที่วัดเทพมณเฑียร และวัดวิษณุ ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้า ของทุกปี และจัดที่วัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร และวัดศรีมหาอุมาเทวี ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด รวม ๙ วัน ๙ คืน
พิธีฉลองวันอวตารพระราม ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้าของทุกปี จัดที่วัดเทพมณเฑียรและวัดวิษณุ
พิธีสงกรานต์ ในวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี จัดที่วัดเทพมณเฑียร
พิธีวันวิสาขบูชา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก จัดที่วัดเทพมณเฑียร
พิธีบูชาพญานาคและหนุมาน ในวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือนเก้า จัดที่วัดวิษณุ
พิธีฉลองวันอวตารพระกฤษณา ในวันแรม ๘ ค่ำ เดือนแปด จัดที่วัดวิษณุ และวัดเทพมณเฑียร
พิธีฉลองวันวิชยาทศนี หรือทศหราหรือคูเชร่า ในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด จัดที่วัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร และวัดศรีมหาอุมาเทวี
พิธีดูเซร่าหรือเนาวราตรี เป็นพิธีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณในสมัยพระเวท และได้ตกทอดมาสู่เมืองไทย โดยชาวอินเดียยุคโบราณ มีการประกอบพิธีบูชาองค์เจ้าแม่และองค์เทพต่าง ๆ รวม ๑๐ วัน ๑๐ คืน ในคืนสุดท้ายจะมีการเชิญองค์เจ้าแม่นำหน้าขบวนแห่ออกไปนอกเทวาลัย
ในงานพิธีประชาชนจะพากันถือศีลกินมังสะวิรัต บ้างก็บำเพ็ญกุศลบนบานศาลกล่าวขอโชคลาภ ในวันวิชัยทัสมิ เจ้าแม่อุมาเทวีจะมาปรากฎในร่างของคนทรงเพื่อแสดงนาฎลีลา นำหน้าขบวนแห่ไปเยี่ยมเยียนบรรดาสานุศิษย์ผู้ศรัทธาตามเคหะสถานบ้านเรือนต่าง ๆ
การประกอบพิธีมีการปลุกเสกร่ายพระเวทรวม ๙ วัน ๙ คืน ถือกันว่าผู้ที่มาร่วมพิธีจะได้รับพระชัยมงคลเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
พิธีประจำสัปดาห์ จัดให้มีทุกวันอาทิตย์ที่วัดเทพมณเฑียร เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๐.๐๐ น. ที่วัดอารยสมาช เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ และที่วัดวิษณุ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
ท่านคมสรณ์/อินเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น