วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

15 ความรู้สึกหลังได้าัมผัสกับศาสนาพรามหมณ์-ฮินดู

              เนื่องจากได้รับมอบหมายงานในการไปยังศาสนสถานของศาสนาพรามหมณ์นั้น  กลุ่มของเราได้รับมอบหมายให้ไปศาสนสถานของศาสนาพรามหมณ์-ฮินดู กลุ่มของเราจึงเลือกที่จะไปที่ วัดแขก หรือ



ศาสนสถานนี้ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ถวายการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีซึ่งเป็นพระชายาของพระศิวะ






โดยการเดินทางนั้น จะใช้รถไฟฟ้า BTS ในการเดินทางเป็นหลัก
โดยที่วัดแขกนั้นจะมีเวลาทำการชี้แจงเอาไว้ชัดเจน




โดยที่ผู้ไปสักการะส่วนใหญ่นั้น จะไปกราบไห้วเพื่อขอให้สมหวังในเรื่องคู่ครองเป็นหลักโดยทางกลุ่มของเราได้ทำการสอบถามความคิด
เห็นกับผู้ที่มาสักการะ







โดยหลังจากที่ได้มาถึงนั้นกลุ่มเราพบว่า ศาสนสถานนี้มีมนต์ขลังอย่างน่าประหลาด รู้สึกสงบ และมีสมาธิ








โดยวันที่ทางกลุ่มเราเข้าไปทำการศึกษาศาสนานี้นั้งตรงกับ
การจัดพิธีมงคลของศาสนาพรามหมณ์พอดีจึงทำให้บรรญากาศคับคั่งเต็มไปด้วยผู้คน แต่เจ้าหน้าที่ก็ยัง คงให้ความรู้กับพวกเราอย่างละเอียด






โดยที่ ความรู้ที่ได้จากเจ้าหน้าที่นั้น กลุ่มเราได้ทำการน้ำเสนอในรูปแบบบล็อกเกอร์ไปแล้ว

เมื่อกลุ่มเราเดินทางมาถึงวัดแขกแล้วนั้น กลุ่มของเราจึกทำการซือ ชุดสักการะในราคา 60 เพื่อบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีและขอพรกัน



หลังจากที่กลุ่มของเราได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่แล้วทำให้เราเข้าใจ
เกี่ยวกับศาสนาพรามหมณ์-ฮินดูขึ้นอย่างมาก
และรู้ว่าหลักคำสอนของศาสนาพรามหมณ์-ฮินดูเอง
ก็มีจุมมุ่งหมายเดียวกับ พระพุทธศาสนา 
คือ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
ดังนั้นกลุ่มเราจึงสรุปได้ว่า ไม่ว่าจะศาสนาไหนก็
มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน





วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

14 สถานที่สำคัญ


สถานที่สำคัญแห่งหนึ่งอยู่ที่เมืองพาราณสี ที่ตั้งอยู่ที่ฝั่งของแม่น้ำคงคาที่เรียกว่า กาสี ซึ่งคนที่เคร่งครัดในศาสนาฮินดูทุกคนจะต้องดิ้นรนมาตายที่วงกลมศักดิ์สิทธิ์ที่มีรัศมีประมาณ ๑๐ ไมล์จากจุดศูนย์กลางของตัวเมืองที่เรียกว่าปัญจะโกสี ซึ่งผู้คนจะมาแสวงบุญกันที่นี่ให้มากครั้งเท่าที่จะทำได้ และลงอาบนำในแม่น้ำคงคาที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ชำระล้างบาปได้ ดังนั้นเมื่อมีคนตายจึงนิยมนำมาเผาที่บริเวณนี้และทิ้งศพลงแม่น้ำคงคา จนทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่เศร้าโศกตลอดกาล เพราะมีแต่งานศพและควันลอยโขมงอยู่ตลอดเวลา สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งคือเมืองมธุรา ที่เป็นเมืองสำคัญศักดิ์สิทธิ์ของนิกายไวษวะที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม้น้ำยมนา ที่ถือว่าเป็นบ้านเกิดของพระกฤษณะ เมื่อถึงเทศกาลจะมีนักแสวงบุญมาที่เมืองนี้และมีพิธีฟ้อนรำให้เกียรติแก่พระกฤษณะ ซึ่งนอกจากสถานที่สำคัญทั้งสองแห่งนี้แล้วยังมีศูนย์กลางทางศาสนาอีกหลายแห่ง.



13 พิธีสำคัญของศาสนา

พระราชพิธีพืชมงคล - จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ   เป็นพระราชพิธีสองพิธีต่อเนื่องกันคือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์  ประกอบพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ประกอบพิธีที่มณฑลท้องสนามหลวง  แต่เดิมมีเแต่พิธีพราหมณ์มาเริ่มมีพิธีสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            พิธีแรกนาขวัญมีปรากฎในคัมภีร์เรื่อง รามายณะ  ตอนที่ท้าวชนกไถนา พบนางสีดา ณ เมืองมิถิลา
            
พระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปาวาย   เป็นสองพิธีต่อกันคือ  พิธีตรียัมปวาย กับพิธีตรีปวาย  กระทำในเดือนยี่ ของทุกปี เป็นเวลา ๑๕ วัน  ตลอดเวลาดังกล่าวมีการอ่านโศลกสรรเสริญ และถวายโภชนาหารแด่เทพเจ้า พิธีนี้เกี่ยวเนื่องกับพิธีแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีขอพรให้พืชพันธุ์อุดสมบูรณ์ เป็นต้นฤดูการเพาะปลูก
            ส่วนพิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีที่ทำหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว  พราหมณ์จึงจัดของถวาายเป็นการระลึกถึงเทพเจ้า ที่กรุณาให้พืชพันธุ์แก่มนุษย์  พิธีนี้จะมีพิธีโล้ชิงช้ารวมอยู่ด้วย  หมายถึงการหยั่งความมั่นคงของแผ่นดิน และเป็นการเสริมสร้างให้แผ่นดินมีความมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นคติแต่โบราณ
            ลำดับการดำเนินการของพระราชพิธีดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
                - พิธีเปิดประตูศิวาลัย  เชิญเทพเจ้าเพื่อประทานพร  จากนั้นเป็นพิธีโล้ชิงช้าของนาลิวัน
                - การถวายสักการะด้วยโภชนาหาร  มีข้าวตอกดอกไม้  เป็นต้น โดยการอ่านโศลกสรรเสริญเทพเจ้า
                - การสรงน้ำเทพเจ้า  แล้วเชิญขึ้นบรมหงส์  เป็นการส่งเทพเจ้ากลับเรียกว่า  กล่อมหงส์ หรือช้าหงส์
            ในวันสุดท้ายของพิธีพราหมณ์ จะทำบุญตามศาสนา  มีการตัดจุกให้แก่เด็กทั่ว ๆ ไป  และถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี
            
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก   เป็นพระราชพิธีสถาปนาพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเป็นสมมติเทพ ปกครองแผ่นดิน เป็นใหญ่ในทิศทั้งแปด  และเป็นการประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน ตามคติพราหมณ์จะทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้า เพื่อทำการสถาปนาให้พระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นสมมติเทพ  ดำรงธรรมสิบประการ ปกครองประเทศด้วยความร่มเย็น มีลำดับพิธีโดยย่อคือ
                - ทำน้ำอภิเษก  เปิดประตูศิวาลัย อัญเชิญพระอิศวร เพื่อประทานพร
                - สรงมูรธาภิเษก  คือการสรงน้ำเพื่อความมงคล
                - ถวายสังวาลย์พราหมณ์  แสดงว่าพระองค์เป็นพราหมณ์
                - ถวายพระมหาพิชิยมงกุฎ  ประกาศปกครองประเทศโดยธรรม
                - เลียบพระนคร เพื่อแสดงพระองค์แก่ทวยราษฎร์ และประทักษิณพระนคร  ให้ประชาราษฎร์มีสันติสุข
           
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา   เป็นพิธีสาบานตน ในการรับราชการว่าจะซื่อตรงต่อแผ่นดิน และปกป้องชาติบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุข  โดยบรรดาข้าราชการจะต้องดื่มน้ำสาบานตน จำเพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง โดยพราหมณ์จะทำพิธีเสกน้ำสาบานนี้ แล้วนำพระแสง (ศาสตราวุธ) ต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ลงชุบในน้ำที่เสกนั้น เพื่อหมายให้ผู้ที่ไม่ซื่อตรงต่อแผ่นดิน จะต้องได้รับโทษต่าง ๆ นานา
            ปัจจุบัน จะประกอบพระราชพิธีนี้ รวมกับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี เฉพาะบุคคลที่ได้รับพระราชทานเท่านั้น
            
พิธีทำในเทวลัยต่าง ๆ  มีอยู่หลายพิธีด้วยกัน ดังนี้
                พิธีเนาวราตรี    บูชาพระแม่อุมาเทวี  หรือพระแม่ทุรคาเทวี  จัดที่วัดเทพมณเฑียร และวัดวิษณุ ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้า ของทุกปี และจัดที่วัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร และวัดศรีมหาอุมาเทวี ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด รวม ๙ วัน ๙ คืน
                พิธีฉลองวันอวตารพระราม  ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้าของทุกปี จัดที่วัดเทพมณเฑียรและวัดวิษณุ
                พิธีสงกรานต์   ในวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี จัดที่วัดเทพมณเฑียร
                พิธีวันวิสาขบูชา  ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก จัดที่วัดเทพมณเฑียร
                พิธีบูชาพญานาคและหนุมาน  ในวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือนเก้า จัดที่วัดวิษณุ
                 พิธีฉลองวันอวตารพระกฤษณา ในวันแรม ๘ ค่ำ เดือนแปด จัดที่วัดวิษณุ และวัดเทพมณเฑียร
                พิธีฉลองวันวิชยาทศนี  หรือทศหราหรือคูเชร่า ในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด จัดที่วัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร และวัดศรีมหาอุมาเทวี
                พิธีดูเซร่าหรือเนาวราตรี เป็นพิธีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณในสมัยพระเวท และได้ตกทอดมาสู่เมืองไทย โดยชาวอินเดียยุคโบราณ มีการประกอบพิธีบูชาองค์เจ้าแม่และองค์เทพต่าง ๆ รวม ๑๐ วัน ๑๐ คืน ในคืนสุดท้ายจะมีการเชิญองค์เจ้าแม่นำหน้าขบวนแห่ออกไปนอกเทวาลัย
                ในงานพิธีประชาชนจะพากันถือศีลกินมังสะวิรัต บ้างก็บำเพ็ญกุศลบนบานศาลกล่าวขอโชคลาภ ในวันวิชัยทัสมิ เจ้าแม่อุมาเทวีจะมาปรากฎในร่างของคนทรงเพื่อแสดงนาฎลีลา นำหน้าขบวนแห่ไปเยี่ยมเยียนบรรดาสานุศิษย์ผู้ศรัทธาตามเคหะสถานบ้านเรือนต่าง 
                การประกอบพิธีมีการปลุกเสกร่ายพระเวทรวม ๙ วัน ๙ คืน ถือกันว่าผู้ที่มาร่วมพิธีจะได้รับพระชัยมงคลเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
                พิธีประจำสัปดาห์  จัดให้มีทุกวันอาทิตย์ที่วัดเทพมณเฑียร เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๐.๐๐ น. ที่วัดอารยสมาช เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ และที่วัดวิษณุ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. 

ท่านคมสรณ์/อินเดีย

12 วันสำคัญ

วันสำคัญอันดับแรก  เป็นวันเริ่มต้นศักราชใหม่ตามปฏิทินโหราศาสตร์ตรงกับวันขึ้นหนึ่งค่ำ เดือนห้า จากวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ถึงวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ เรียกว่า นวราตรี ทำการบูชาเจ้าแม่อุมา ซึ่งมีเก้าปางด้วยกันคือ
                    ไศลปุตรี เป็นปางแรก  พระแม่อุมาเป็นบุตรีของภูเขาคือเป็นธิดาของหิมพาน ซึ่งเป็นราชาแห่งภูเขาทั้งหลาย
                    พรหมฮาริณี  เป็นปางที่สอง เป็นปางที่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และไม่แต่งงาน อยู่เป็นโสด
                    จันทร ฆัณฎา  เป็นปางที่สาม เป็นปางที่ปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง
                    ภูษามาณฑา  เป็นปางที่สี่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปางทุรคา เป็นปางปราบอสูร ด้วยอาวุธทั้งสี่กร
                    ษกันทมาตา  เป็นปางที่ห้า เป็นปางเลี้ยงพระคันธกุมาร ซึ่งเป็นโอรสพระศิวะกับอุมาเทวีหรือปารวดี ซึ่งจะไปปราบอสูรต่อไป
                    กาตยายนี   เป็นปางที่หก เป็นปางเทวีของปีศาจ โดยใช้พวกภูติผีปีศาจไปปราบอสูร
                    กาลราตรี   เป็นปางที่เจ็ด  เป็นปางเสวยเลือดอสูร
                    มหาเคารี  เป็นปางที่แปด  เป็นปางเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ  ทำให้ธัญชาติสมบูรณ์
                    สิทธิธาตรี  เป็นปางที่เก้า  เป็นปางที่กลับเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ
                
วันสำคัญอันดับที่สอง  เรียกว่า  อกษัยตริติยา  ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖  เชื่อกันว่าบุญที่ทำในวันนี้ จะทรงอยู่ชั่วนิรันดร และในวันนี้ ปรศุราม อวตารปางที่ ๕ ของพระนารายณ์ จะมาปรากฎ
                
วันสำคัญอันดับสาม  เรียกว่า นฤสิงหจตุรทศี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖  เป็นวันปรากฎของพระนารายณ์ ปางที่สามชื่อ นฤสิงห์  การประกอบพิธีบูชาพระนารายณ์ในวันนี้ เพื่อพิชิตศัตรู
               
 วันสำคัญอันดับสี่  เรียกว่า ไวศาขีปูรณิมา  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖  เป็นวันศูนย์กลางของสงกรานต์ ถือว่าเป็นวันเพ็ญแรกของปี  มีการทำพิธีบูชาไฟ และทำบุญตามประเพณีของตระกูล  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่โลก  ตรัสรู้ และปรินิพพาน ถ้าที่ใดมีพระพุทธรูปอยู่จะต้องแห่พระพุทธรูปนั้น
                
วันสำคัญอันดับห้า  เรียกว่า เมษสงกรานต์   ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน และทุกปี  จัดทำการบูชาพระนารายณ์ บางรัฐถือว่าเป็นวันปีใหม่ด้วย
               
 วันสำคัญอันดับหก  เป็นวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗  เป็นวันแรกที่น้ำจากพรหมโลกไหลลงมาสู่โลกนี้  ที่ต้นของแม่น้ำคงคาคือ น้ำจากเศียรพระศิวะไหลลงสู่ภูเขาหิมาลัย แล้วลงสู่แม่น้ำคงคา ชาวบ้านที่อยู่ใกล้แม่น้ำคงคาจะจัดเล่นกีฬาในน้ำ
                
วันสำคัญอันดับเจ็ด  เรียกว่า นิรชลาเอกทศี  ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๗  เป็นวันบูชาพระนารายณ์ โดยการอดอาหาร และน้ำ  เป็นเวลา ๑๔ ชั่วโมง
                
วันสำคัญอันดับแปด  เรียกว่า  ชเชษฐิปูรณิมา  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗  เป็นวันเริ่มจตุรมาศคือ วันเริ่มต้นเข้าพรรษา เป็นเวลาสี่เดือน ผู้เป็นสันยาสี จะต้องอยู่ประจำที่สี่เดือน
                วันสำคัญอันดับเก้า  เรียกว่า  วันรถยาตรา  ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๘  มีการนำรูปปฎิมาของพระนารายณ์ ขึ้นรถแห่ภายในเขตหมู่บ้านเพื่อให้คนบูชา
                
วันสำคัญอันดับสิบ   เรียกว่า คุรุปูรณิมา  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  เป็นวันบูชาครูบาอาจารย์ มหาฤษีวยาส ได้รับความสำเร็จในการแต่งตำราต่าง ๆ  วันเริ่มต้นเขียนตำรา และวันเขียนตำราจบ  วันเริ่มต้นสอนศิษย์ พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ธรรมจักรกัปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ในวันนี้
                
วันสำคัญอันดับ ๑๑  เรียกว่า นาคปัญจมี  ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๙  ชาวพราหมณ์ฮินดูทำการบูชาพญานาค เอาน้ำนมให้งู และพญานาคกิน
                วันสำคัญอันดับ ๑๒  เรียกว่า ศราวณีปูรณิมา  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙  พวกพราหมณ์จะพากันไปสู่แม่น้ำสายต่า งๆ  แต่เช้า  ทำพิธีทางพระเวทจนบ่าย ต้องอยู่ในน้ำตลอดระยะเวลาที่อ่านคัมภีร์พระเวท  โดยการกล่าวอุทิศบุญกุศล ที่ทำนั้นให้แก่บรรพบุรุษทุกคน  ตอนเย็นจะมีศิษย์มาหาอาจารย์  อาจารย์ก็ผูกสายสิญจ์ที่ข้อมือให้ ถือว่าเป็นมงคลตลอดปี
                
วันสำคัญอันดับ ๑๓   เรียกว่า คเณศจตุรถี  แรม ๔ ค่ำ เดือน ๙  เป็นวันบูชาพระคเณศ ต้องอดอาหารตลอดวัน จนกว่าจะทำพิธีเสร็จ  และไหว้พระจันทร์ที่ปรากฎขึ้นแล้ว จึงจะบริโภคอาหารได้
                
วันสำคัญอันดับ ๑๔   เรียกว่า หลษัษฐี  แรม ๖ ค่ำ เดือน ๙  เป็นวันบูชาสุรยิเทพ และพี่ชายของพระกฤษณะ ชื่อ พลเทพ ซึ่งเป็นอวตารของพญานาค
                
วันสำคัญอันดับ ๑๕  เรียกว่า ศรีกฤษณะชนมาอัฎฐมี  แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙  เป็นวันที่พระกฤษณะมาปรากฎ มีการฉลองอย่างมโหฬาร ผู้ที่เคร่งครัดจะอดอาหารตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงคืน
                
วันสำคัญอันดับ ๑๖  เรียกว่า กุโศตาปาฎนีอมาวสยา  แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  อาจารย์และศิษย์ที่กำลังเรียนพระเวทอยู่จะไปเก็บหญ้าคา เพื่อนำมาใช้ในพิธีต่าง 
                
วันสำคัญอันดับ ๑๗   เรียกว่า หรตาลิกาตฤติยา  ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐  เป็นวันสำคัญของพระแม่อุมา และพระศิวะ ตอนที่พระแม่อุมายังเป็นพรหมจาริณีกุมารี  ได้บำเพ็ญตบะวิงวอนให้พระศิวะแต่งงานด้วย พระศิวะได้มาปรากฎและให้สัจจสัญญาว่า จะแต่งงานด้วย และให้พรว่า สตรีใดบำเพ็ญตบะ ในวันนี้จะได้สามีที่ดี และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
               
 วันสำคัญอันดับ ๑๘   เรียกว่า  มหาลัยปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ นับแต่วันนี้ไปจนถึงวันแรม ๕ ค่ำ  เดือน ๑๐ ในระยะเวลา ๑๖ วัน  จะมีการทำพิธีบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว  โดยการเชิญสันยาสี มาฉันอาหารที่บ้าน เป็นการทำบุญให้ผู้ตาย ซึ่งต้องทำให้ตางกับดิถีที่ตาย
                
วันสำคัญอันดับ  ๑๙   เรียกว่า นวราตรี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑  ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ จัดเป็นพิธีบูชาติดต่อกันไป ๙ วัน
                
วันสำคัญอันดับ  ๒๐  เรียกว่า วิชยาทศมี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ทำพิธีบูชาพระอุมาเทวี เป็นวันที่พระอุมาปราบอสูร ได้รับชัยชนะ  ใครบูชาพระอุมาในวันนี้จะได้ชัยชนะตลอดปี  ถือว่าเป็นวันสำคัญของวรรณกษัตริย์ อาวุธทุกประเภทที่มีอยู่ในบ้าน จะต้องนำออกมาให้พราหมณ์เจิม เพื่อความเป็นสิริมงคล
                
วันสำคัญอันดับ ๒๑    เรียกว่า  ศรทปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการทำพิธีบุชาพระนารายณ์ สิ่งที่นำมาบูชาจะเป็นประเภทใด ก็ตามต้องเป็นสีขาวล้วน  วันนี้เป็นวันบรรจบครบจตุรมาศ ตรงกับวันออกพรรษาของไทย
                
วันสำคัญอันดับ ๒๒  เรียกว่า  อันเตรส  แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการทำพิธีบูชาพระลักษมี พระคเณศ และพระกุเวร  พระแม่สุรัสวดี และพระอินทร
                
วันสำคัญอันดับ ๒๓   เรียกว่า นรกจตุรทสี  แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลากลางวันทำพิธีบูชาพระยม เวลากลางคืน จุดประทีปถวายพระยม  เชื่อกันว่าเมื่อทำแล้วจะไม่ไปสู่นรก หากมีกรรมหนักหนีนรกไม่พ้น ก็จะเดินทางไปนรก โดยมีประทีปนำทางให้สว่าง  วันนี้ถือเป็นวันเกิดของหนุมานด้วย
                
วันสำคัญอันดับ ๒๔  เรียกว่า ทับมาสิกา แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ทำการบูชาเทพเจ้าทั้งห้า และถือว่าเป็นวันสำคัญของพระแม่ลักษมี การบูชาทำในตอนเย็น  มีการจุดประทีปโคมไฟไว้ในบ้านตลอดคืน  เพื่อต้อนรับพระแม่ลักษมี  เป็นวันสำคัญของวรรณะแพทศย์
               
 วันสำคัญอันดับ ๒๕   เรียกว่า  อันนกูฎะ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ผู้ทำพิธีจะต้องนำอาหาร ๕๖ อย่าง ไปถวายเทพเจ้าในเทวาลัยทุกแห่ง
                วันสำคัญอันดับ ๒๖  เรียกว่า  ยมทวิตียา ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ วันนี้พี่ชาย หรือน้องชายต้องไปบริโภคอาหารที่บ้านพี่สาว หรือน้องสาว  ผู้ชายต้องนำของขวัญไปให้พี่สาว หรือน้องสาว เสร็จแล้วพี่สาว หรือน้องสาว ก็เจิมดิลกที่หน้าพี่ชายหรือน้องชาย เพื่อเป็นสิริมงคล
                
วันสำคัญอันดับ ๒๗  เรียกว่า วามนทวาทศี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นวันประสูติของพระวามนะ  ซึ่งเป็นอวตารปางที่ ๕  ของพระนารายณ์  มีการบูชาถวายพระรามนะ ทำให้เป็นผู้มีสติปัญญารุ่งเรือง
                
วันสำคัญอันดับ ๒๘   เรียกว่า ไวกุณฐจตุรทศี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  เป็นวันบูชาพระนารายณ์ ผู้ที่ทำการบูชา ตายแล้วจะไปเกิดในโลกไวกุณฐะ  มีการบูชาพระนารายณ์กับพระศิวะสลับกันไป การบูชาพระนารายณ์จะได้ผลทางจิตใจ ส่วนการบูชาพระศิวะจะได้ผลทางวัตถุ
                
วันสำคัญอันดับ ๒๙    เรียกว่า ศารทัยปูาณิมาที่สอง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  เป็นการบูชาพระนารายณ์ และถวายประทีปแก่เทพเจ้าทั้งหลายในเทวาลัยต่าง ๆ  บนท้องฟ้าและในน้ำ  ถือว่าเมื่อถวายประทีปแล้วจะได้รับแสงสว่างในภายใน ดวงประทีปจะนำวิญญาณของผู้ถวาย เมื่อตายไปสู่สุคติ
                
วันสำคัญอันดับ  ๓๐    เป็นวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือนยี่  ถึงแรม ๖ ค่ำ  เดือนยี่  เป็นเวลา ๑๖ วัน ๑๕ คืน  เรียกว่า พระราชพิธีตรียัมพวาย - ตรีปาวาย   เป็นพิธีถวายของสักการะเทพเจ้า ที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ประเทศและประชาชน  โดยพิธีโล้ชิงช้า เป็นตำนานบูชา พระอิศวร
                
วันสำคัญอันดับ ๓๑   เรียกว่า  วสันตปัญจมี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓  มีการบูชาพระแม่สุรัสวดี  เพื่อให้มีสติปัญญาดีขึ้น ทำการบูชาพระกามเทพด้วย  เพื่อป้องกันมิให้จิตตกไปสู่อารมณ์ฝ่ายต่ำ  มีการบูชาพระนารายณ์ด้วย
                
วันสำคัญอันดับ ๓๒   เรียกว่า มาฆีปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓  ผู้นับถือเทพเจ้าองค์ใดก็จะบูชาเทพเจ้าองค์นั้น วันนี้เป็นวันที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐  รูป ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฎิโมกข์
               
วันสำคัญอันดับ ๓๓   เรียกว่า วันมาฆสงกรานต์  วันที่ ๑๔  มกราคม ของทุกปี  เป็นวันสงกรานต์  มีการนำข้าวกับถั่วปนกันถวายเทพเจ้า พราหมณ์ และสันยาสี
               
วันสำคัญอันดับ ๓๔  เรียกว่า  ศิวาราตรี  แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓  จะมีการบุชาพระศิวะ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ผู้นับถือเคร่งครัด จะอดอาหารอดนอน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง  เป็นวันปรากฎของพระศิวะ  และวันแต่งงานของพระศิวะ
               
วันสำคัญอันดับ ๓๕  เรียกว่า  โหลีปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔  มีการนำเอาของสกปรกออกจากบ้าน ไปรวมไว้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วเผา  ขณะที่เผาจะร้องเพลงประเภทลูกทุ่ง เรียกว่า เพลงโหลี
                

วันสำคัญอันดับ ๓๖  เรียกว่า โหลี หรือโหลา  มีการฉลองโหลี มีเล่นนีต่า ง ๆ  เช่นเดียวกับวันสงกรานต์ ที่ไทยเราเล่นสาดน้ำกัน คนส่วนมากถือว่าเป็นวันตรุษอินเดีย เป็นวันสำคัญของพวกกรรมกร วรรณะศูทร
                วันแรม หรือขึ้นแปดค่ำ หรือขึ้นสิบเอ็ดค่ำ หรือขึ้นสิบห้าค่ำ ถือว่าเป็นวันพระ ของศาสนาพราหมณ์ฮินดู โรงเรียน สถานศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ที่สอนคัมภีร์พระเวทด้วย หยุดในวันดังกล่าว เดือนละหกวัน



11 วรรณะและประเทศที่นับถือ

วรรณะพราหมณ์ คือ ผู้ทำพิธีกรรม มีหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า สั่งสอนศาสนาและประกอบพิธีกรรมแก่ประชาชนทุกวรรณะ รวมถึงมีหน้าที่ศึกษา จดจำและสืบต่อคัมภีร์พระเวท วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากปากของพระพรหม
วรรณะกษัตริย์ คือ กษัตริย์หรือนักรบ ทำหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง และทำศึกสงคราม วรรณะนี้เชื่อมากำเนิดมาจากหน้าอกของพระพรหม
วรรณะแพศย์ คือ ผู้ประกอบพาณิชกรรม เกษตรกรรม ซึ่งเป็นวรรณะของคนส่วนใหญ่ในสังคม วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากมือของพระพรหม
วรรณะศูทร คือ กรรมกร วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากเท้าของพระพรหม
ถ้ามีการแต่งงานข้ามวรรณะ บุตรที่เกิดมาก็จะกลายเป็น จัณฑาล (ในภาษาไทยคือ กาลกิณี) เป็นผู้อยู่นอกวรรณะซึ่งเป็นที่รังเกียจของทุกวรรณะ
ส่วนในอินโดนีเซียจะไม่ค่อยเคร่งวรรณะเหมือนกับในอินเดีย

หนังสือบางเล่มกล่าวว่า วรรณะพราหมณ์, กษัตริย์ และแพศย์ เป็นวรรณะของคนอารยัน คือชนผิวขาวผู้ริเริ่มศาสนา ส่วนวรรณะศูทร เป็นของคนดราวิเดียน ชนผิวดำชนพื้นเมืองเก่าของอินเดีย


 ประเทศที่นับถือ

ปัจจุบันศาสนาฮินดูจะมีผู้คนนับถือมากเฉพาะในประเทศอินเดีย และยังมีผู้ที่ทรมานร่างกายหรือบำเพ็ญทุกรกิริยาเพื่อให้บรรลุถึงโมกษะอยู่ด้วย แต่ก็มีผู้คนนับถือประปรายอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก และนิยมเรียกกันว่าศาสนาพราหมณ์

10 นิกายและเป้าหมายสูงสุด

ศาสนาฮินดู ที่สืบเนื่องจากศาสนาพราหมณ์นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ เช่น
1. ลัทธิไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni)
2. ลัทธิไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน
3. ลัทธิศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น
4. ลัทธิคณพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์
5. ลัทธิสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ คายตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร
6. ลัทธิสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ
7. ลัทธิเชมัน หรือ เชมัน(Shamanism)

8. ลัทธิกายตรี-พหุเทวะนิยม (Gayatri-polytheism) เป็นนิกายที่นับถือเทพเจ้าหลายพระองค์ในศาสนาฮินดู แต่ก็มีความเชื่อที่ว่าพระเจ้าทุกพระองค์ คือหนึ่งเดียว ยังมีนิกายอื่นๆ อีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก

จุดหมายสูงสุด
จุดหมายสูงสุดของศาสนาฮินดูก็คือการได้กลับไปรวมอยู่กับพรหมหรือปรมาตมัน ซึ่งไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์อีกต่อไป ส่วนจุดหมายรองลงมาก็คือการได้ขึ้นสวรรค์เสพสุขอยู่กับนางฟ้าบนสวรรค์นานๆโดยไม่ต้องทำงาน.





9 หลักความเชื่อที่สำคัญ

คำสอนในคัมภีร์อุปนิษัทนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อเรื่องวิญญาณเวียนว่ายตายเกิด และเรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า ผี สาง เทวดา ต่างๆขึ้นมา รวมทั้งเรื่องอาวตารของพระนารายณ์ที่เกิดมาเพื่อช่วยโลก เช่น อวตารมาเป็นพระรามเพื่อฆ่ายักษ์ หรือแม้เรื่อง อวตารมาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อสอนพวกอสูรผิดๆจะได้ไม่มีฤทธิ์เดช จะได้กำจัดได้ง่าย เป็นต้น นี่เองที่ทำให้ผู้ที่ไม่รู้จักพุทธศาสนาอย่างถูกต้องก็จะเชื่อกันว่าพุทธศาสนานั้นแยกออกมาหรือเป็นเพียงสาขาหนึ่งของศาสนาฮินดูเท่านั้น ซึ่งความเชื่อนี้ก็ได้เข้าไปปะปนอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรมเต็มไปหมด และก็ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้พุทธศาสนาสูญหายไปจากอินเดียอีกด้วย



8 หลักคำสอน

คำสอนสำคัญในคัมภีร์อุปนิษัทนั้นสรุปได้ ๕ เรื่องคือ

๑. ปรมาตมัน หรือ พรหม คือวิญญาณหรือตัวตนดั้งเดิม หรือใหญ่ ที่เที่ยงแท้ถาวร เป็นหนึ่งและอมตะ
๒. อาตมัน หรือชีวาตมัน คือส่วนย่อยของปรมาตมันหรือพรหมที่แยกออกมาอยู่ในแต่ละบุคคล
๓. การกลับเข้าไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมได้นั้นคือการพ้นทุกข์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก
๔. ชีวาตมันจะกลับไปรวมกับปรมาตมันได้นั้น ผู้นั้นจะต้องบำเพ็ญกิริยา ประกอบพิธีต่างๆจนบรรลุถึงโมกษะ (หลุดพ้นจากอัตตา) ชีวาตมันก็จะกลับไปรวมกับปรมาตมันได้.

๕. เรื่องกฎแห่งกรรม คือสอนว่ากรรมเป็นเครื่องกำหนดของชีวิตในภพหน้า กล่าวคือใครทำสิ่งใดในชาตินี้ ย่อมได้สิ่งนั้น ในชาติหน้า



7 ประวัติศาสดาและสาวกของศาสนาพราหมณ์

ศาสนาพราหมณ์  เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก  ช่วงแรกเรียกว่าศาสนาพราหมณ์  ต่อมาได้พัฒนามาเป็นศาสนาฮินดูและเป็นศาสนาที่มีคนไทยจำนวนหนึ่งนับถือ
ศาสนาพราหมณ์ถือกำเนิดในประเทศอินเดีย  ชาวอินเดียส่วนใหญ่นับถือศาสนานี้  ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดา  นับถือพระเจ้าหลายพระองค์  เทพเจ้าที่สำคัญ  ได้แก่
          -  พระพรหม  เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล
          -  พระพรหม  เป็นผู้คุ้มครองโลก
          -  พระศิวะ     เป็นผู้ทำลายโลกและสร้างโลกขึ้นใหม่
เจ้าทั้ง 3 องค์นี้  จะมีหน้าที่สัมพันธ์กัน


ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เน้นการประกอบพิธีกรรมเพื่อบูชาและสรรเสริญเทพเจ้า  ผู้ที่อยู่ในฐานะสูงสุดและเป็นผู้นำทางความเชื่อของศาสนา  ได้แก่  นักบวชพราหมณ์  ซึ่งเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมและเป็นตัวแทนในการติดต่อกับเทพเจ้า  วรรณะพราหมณ์จึงเป็นวรณะหรือชนชั้นสูงสุดของ-ชาวอินเดีย
     ศาสนาพราหมณ์ได้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นลำดับจนกระทั่งได้วิวัฒนาการเป็นศาสนาฮินดู  และหยั่งรากลึกลงในวัฒนธรรมประเพณีรวมทั้งความเป็นอยู่ของชาวอินเดียสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้